ผลประกอบการ ปี 2562 ของ บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด หรือ ไทยรัฐทีวี ซึ่งเป็นบริษัทที่รับใบอนุญาตประกอบการทีวีดิจิทัล ของไทยรัฐทีวี ที่รายงานต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า รายได้รวมเพื่มขึ้น 1,376.10 ล้านบาท และ ขาดทุน 171.39 ล้านบาท ในปี 2562 กลุ่มธุรกิจทีวีดิจิทัลอื่น ส่วนใหญ่ มีรายได้ลดลง มีสาเหตุมาจากสภาวะเศรษฐกิจ การแข่งขันรุนแรง และ เม็ดเงินโฆษณาลดลง แต่ไทยรัฐทีวี กลับมีรายได้รวม ปี 2562 เพิ่มขึ้น 25 % เมื่อเปรียบเทียบปี 2561 และ ขาดทุนลดลง 69 % เมื่อเปรียบเทียบปี 2561
จากข้อมูล กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า รายได้รวมของบริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ ซึ่งธุรกิจหลักคือช่องไทยรัฐทีวี
ตั้งแต่ปี 2557 มีรายได้ดังนี้ ปี 2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีช่องทีวีดิจิทัลเข้ามาแข่งใหม่ 24 ช่อง ปี 2557 มีรายได้ 217 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 495 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 566 ล้านบาท ปี 2560 รายได้ 740 ล้านบาท และปี 2561 มีรายได้ 1099 ล้านบาท ไทยรัฐทีวี ยังไม่เคยมีกำไร ตั้งแต่ปี 2557 โดยขาดทุนสูงสุด ในปี 2558 1,148 ล้านบาท และมีแนวโน้ม การขาดทุนที่ลดลงอย่างก้าวกระโดด ในปี 2562 ไทยรัฐทีวี สามารถต้นทุนการขายได้ถึง 12 %
สำหรับรายได้เฉพาะกิจการทีวีดิจิทัล ที่ไทยรัฐทีวี แจ้งต่อกสทช.พบว่า ในปี 2557 มีรายได้ 200 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 471 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 515 ล้านบาท ปี 2560 รายได้ 666 ล้านบาท และปี 2561 มีรายได้ 919 ล้านบาท แต่ปี 2562 ยังไม่มีรายงานแจ้งรายได้เข้ามา
ในภาพรวมปี 2562 ช่องไทยรัฐทีวี มีเรตติ้ง เฉลี่ยอยู่ที่ 0.448 อยู่ในอันดับ 6 เพิ่มขึ้นจากเรตติ้งเฉลี่ย 0.410 ในปี 2561 ที่อยู่ในอันดับ 7 โดย ไทยรัฐทีวี ชูคอนเทนต์ข่าว การถ่ายทอดสดกีฬา แนวโน้มเรตติ้ง ของ ไทยรัฐทีวี มีแนวโน้มดีวันดีคืนในปี 2563 โดย เรตติ้ง เดือน เมษายน และ พฤษภาคม ขึ้นมาอยู่ที่ 5 เป็นครั้งแรกอาจมีสาเหตุมาจาก ช่วงต้นปี 2563 ประชาชนเริ่มตื่นตระหนกต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 และ ช่องไทยรัฐ เน้นทางด้านข่าว ประชาชนจึงติดตามข่าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานะการณ์ Covid-19 จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับไทยรัฐทีวี หรือไม่ ในปี 2563 ผลประกอบการบริษัทอาจพลิกกลับมากำไรปีแรก นับตั้งแต่ ปี 2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีช่องทีวีดิจิทัลเข้ามาแข่งขัน