งานวันสุขภาพจิตโลกพร้อม  ! “Better Mind Better Bangkok”  8 ต.ค.นี้ ที่สามย่านมิตรทาวน์

What's new คอนเสิร์ต เทศกาลดนตรี สัมนาและกิจกรรม ไทยพีบีเอส

จากหลายๆ สถานการณ์สะเทือนขวัญและบางกรณีมีการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาดังที่เป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่องนั้น ได้บั่นทอนการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขของคนในสังคม  ความจริงที่ต้องยอมรับ ก็คือ ประเทศไทยวันนี้มีความท้าทายด้านสุขภาพจิตอย่างยิ่ง องค์การอนามัยโลกคาดในแต่ละปีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน หรือทุก 40 วินาที มีคนฆ่าตัวตาย 1 คน

ข้อมูลจากผลการวิจัย “อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย พ.ศ. 2576 (Futures of Mental Health in Thailand 2033) โดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ฯ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab by MQDC) ระบุว่า ตัวเลขผู้ป่วยจิตเวชในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในปี 2558 เป็น 2.3 ล้านคนในปี 2564 และ 1 ใน 14 ของเด็กอายุ 5-9 ปี /1 ใน 7 ของวัยรุ่นอายุ 10 – 19 ปี มีความผิดปกติด้านจิตประสาทและอารมณ์  ร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายเป็นเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นไทย โดยทุกๆ 10 นาที จะมีคน 1 คนพยายามฆ่าตัวตาย และ ทุกๆ 2 ชั่วโมงประเทศไทยจะสูญเสียประชากร 1 คน จากการจบชีวิตตัวเอง ขณะที่ประเทศไทยพบผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิต-ซึมเศร้า เพิ่มขึ้น 1-2 % พบการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อปีกว่า 4,625 คน (ปี พ.ศ. 2564-2565)

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “สุขภาพจิต” ส่งผลอย่างมากต่อความเป็นอยู่ของทุกคนในแต่ละวัน ทั้งระดับความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม หรือแม้แต่ส่งผลต่อสังคม  และเนื่องด้วยในวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันสุขภาพจิตโลก”  (World Mental Health Day) มูลนิธิสติแอพ (SATI) ร่วมกับสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อ“คนไทย” และภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายสร้างความตระหนักและการสร้างพลังใจ เพื่อรับมือกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่กำลังเพิ่มขึ้นของคนเมือง จึงได้ร่วมกันจัดงาน “วันสุขภาพจิตโลก” ชื่อ “Better Mind Better Bangkok” ขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคมนี้ ณ ลานกิจกรรมชั้น 3 สามย่านมิตรทาวน์ เพื่อนำเสนอข้อมูล องค์ความรู้ และประสบการณ์ตรงของภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาด้านจิตเวชในประเทศไทย ได้ร่วมกันแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ต่อสาธารณชน พร้อมกับการระดมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และหวังให้เกิดการผลักดันในเชิงนโยบายแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ตลอดจนเพื่อระดมความร่วมมือในการรับสมัครอาสาสมัครนักฟังเชิงลึกช่วยผู้เผชิญภาวะความเครียดผ่านแอพพลิเคชัน  “SATI”

ทั้งนี้ รูปแบบการจัดงานประกอบด้วย 4 เวทีเสวนา โดยวิทยากรผู้อุทิศตนให้กับแวดวงสุขภาพจิต รวมทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญและบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ เช่น คุณภัทรดนัย เสตสุวรรณ คุณอแมนด้า ออบดัม คุณเจมส์ รัศมีแข ฟอเกอร์ลุนด์ฟ คุณนที เอกวิจิตร์ คุณจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ คุณพลวัชร ภู่พิพัฒน์  ดร.ทวิดา กมลเวชช คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ ดร.ชาติวุฒิ วังวล ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ คุณอมรเทพ สัจจะมุนีวงศ์ พญ.พิยะดา หาชัยภูมิ คุณชนิดา คล้ายพันธ์ คุณดุจดาว วัฒนปกรณ์ คุณณาตยา แวววีรคุปต์ ฯลฯ ดำเนินรายการโดย คุณเกรซ นรินทร ชฎาภัทรวรโชติ

เนื้อหาของเวทีเสวนาปีนี้ จะมีการนำเสนอ 4 ประเด็นภายใต้แนวคิด “SEAS” ประกอบด้วย

เวที 1 SSECURITY : Safe Environment  ร่วมสำรวจกลยุทธ์ต่างๆ เรียนรู้เครื่องมือและเทคนิคสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ส่งเสริมให้มีความมั่นคงอารมณ์   

เวที 2 E EQUITY Better Access การเข้าถึงสุขภาพจิตที่มากขึ้นและลดช่องว่างของปัญหา ส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมและมากขึ้นในการเข้าถึงสุขภาพจิตอย่างเพียงพอของทุกคน  

เวที 3  ADAPTABILITY : Building Resilience  สร้างพลังฟื้นฟูจิตใจจากภายในตนเอง และบุคคลรอบข้าง สามารถปรับตัวในเวลาที่ยากลำบากและชีวิตผันผวน 

เวที 4 S SERENITY : Nonviolent Communication   การสื่อสารที่ปราศจากการคุกคาม ที่นำไปสู่ความสงบของจิตใจ และเสริมสร้างความสงบสุขให้ตนเองและผู้คนรอบข้าง

นอกจากนั้น ยังมี กิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมสามารถมีส่วนร่วมอีกมากมาย เช่น กิจกรรม Mind Journal จาก Understand : ห้องนั่งเล่นของหัวใจ – จัดการกับความคิด อารมณ์ ด้วยเครื่องมือดูแลสุขภาพจิตในแบบฉบับที่จับต้องได้ กิจกรรมศิลปะ Emotional Wheel และ  VR for Mental Health จาก ME HUG – An Innovative Mental Health Wellness Center – สำรวจความรู้สึก และ ความหวังของตัวเองผ่านการใช้สี oil pastel ในการถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกตนเอง ผ่านมุมมอง อารมณ์หลักๆ ทั้งหมด 4 อารมณ์ และความหวังของตนเอง  กิจกรรม Check Up My Mind จากกทม. มีประเมินสุขภาพจิต และคัดกรองความเครียดเบื้องต้น ตรวจวัดความเครียดด้วยเครื่อง HRV ให้คำปรึกษาสุขภาพจิต และ Dots Coffee กาแฟดีที่สกัดและชงอย่างพิถีพิถันโดยผู้พิการทางสายตา และปิดท้ายด้วยมินิคอนเสิร์ตจาก IndyCamp

สามารถลงทะเบียนร่วมงานที่ https://book.soldoutt.com/bettermindbetterbangkok/register ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ https://www.facebook.com/satiapp

Sati x TIMS : สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต x BMA #WorldMentalHealthDay  #BetterMindBetterBangkok2023 #satiapp #tims #indycamp #miniconcert #samyanmitrtown #สุขภาพจิต

 

Tagged