สถานการณ์ช่อง 8 ของกลุ่มอาร์เอส ในไตรมาสแรกของปี 2562 นี้อยู่ในช่วงวิกฤตอย่างยิ่ง เมื่อคอนเทนต์ที่จัดวางไว้ยังไม่มีรายการไหนเข้าเป้า ดึงความสนใจของผู้ชมขึ้นมาได้
คอนเทนต์หลักที่ทำให้ช่อง 8 เติบโตมา ประกอบไปด้วย ซีรี่ส์อินเดีย, ละครไทย, รายการข่าว และรายการมวย ที่เคยเป็นช่องแรก ที่เปิดตลาดถ่ายทอดสดมวยไทยถึง 3 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ตอนนั้นช่องอื่นๆ มีเพียง 1 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น
สถานการณ์ในปี 2561 ตอนต้นปี ซีรี่ส์อินเดียยังมีกระแสแรง ประกอบกับรายการมวยกำลังฮอต เมื่อเสริมด้วยรายการข่าว โดยเฉพาะรายการข่าวเช้า ที่บางวันยังสามารถแซงชนะ “เรื่องเล่าเช้านี้”ของช่อง 3 ได้ ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยช่องทะยานขึ้นไปสูงสุดในเดือนม.ค.ด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 0.625 อยู่ในอันดับ 5
แต่เรตติ้งเฉลี่ยช่อง 8 ค่อยๆลดลงทีละน้อย เมื่อกระแสซีรี่ส์อินเดียเริ่มอ่อนแรง รายการข่าวลดความนิยมลง และรายการถ่ายทอดสดมวยไทย ย้ายวิก โดยเฉพาะแม็กซ์มวยไทย ย้ายออกจากช่อง 8 ไปอยู่ช่องนาว 26 หรือ สปริง 26 ในเดือนก.ค.61 ทำให้ช่อง 8 ต้องจัดรายการมวยของตัวเองขึ้นมาแทน ทำให้เดือนก.ค. ช่อง 8 หล่นไปอยู่อันดับ 7
ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ช่อง 8 ยังได้ละครไทย เจาะกลุ่มคนต่างจังหวัด เน้นแนวสยองขวัญ เติมด้วยรสจัดใส่ความอิจฉาริษยาลงไป ทั้ง “สาปกระสือ” และ “ซิ่นลายหงส์” โดยเฉพาะสาปกระสือ ทำเรตติ้งตอนจบได้ถึง 3.534 ละครไทยลงผังละครเย็นเข้ามาช่วยพยุงสถานการณ์ช่อง ประคองตัวรักษาอันดับ 6 ไว้ได้ในช่วงปลายปี ทำให้ภาพรวมของช่อง 8 ในปี 2561 ยังรั้งอยู่ในอันดับ 5 ด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 0.530
เปิดมาตั้งแต่ต้นปี 2562 ละครเปลี่ยนแนวร้อนแรง มาเป็นโรแมนติค และคอมเมดี้ เรตติ้งแผ่วลงไป ประกอบกับผังรายการส่วนใหญ่ยังเต็มไปด้วยรายการขายสินค้าแทรกเข้ามาในทุกช่วงของรายการ
เมื่อดูเรตติ้งรายการเด่นของช่องเมื่อเดือนม.ค.62 จะพบว่า ในรายการหลักๆ ยังมีเรตติ้งเฉลี่ยแต่ละรายการในแต่ละวันเกิน 1 ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นรายการมวย และซีรี่ส์อินเดีย
ในขณะที่เดือนมี.ค. 62 รายการเด่นของช่องกลายเป็
ช่อง 8 ได้พยายามจัดผังใหม่ ใส่ละครไทยเข้าเสริมผังในช่วงเสาร์-อาทิตย์ เปิดช่วงใหม่ด้วยละครที่ดึงดาราดัง อย่างแอนดริว เกร็กสัน และเชียร์ ทิฆัมพร ในเรื่อง “ปมรักสลับหัวใจ” ในช่วงไพรม์ไทม์ เสาร์-อาทิตย์ ที่ต้องแข่งกับละครและรายการบันเทิงจากหลายช่อง ทำเรตติ้งอยู่ระหว่าง 0.2-0.4 โดยมีเรตติ้งสูงสุดอยู่ที่ 0.481 ดูแนวโน้มแล้วยังต้องใช้เวลาไต่ระดับสร้างความนิยมไปอีกระยะ
เมื่อวันที่ 29 มี.ค.62 อาร์เอสได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ได้ขอย้ายหมวดธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จากหมวดมีเดีย ไปเป็นหมวดธุรกิจพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างรายได้ของบริษัทที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี 2561 นั้น อาร์เอสรายงานว่ามีรายได้จากธุรกิจพาณิชย์ คิดเป็น 55.6 % ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่รายได้จากธุรกิจสื่อ ลดลงเหลือเพียง 35.1% เท่านั้น
อย่างไรก็ตามการมุ่งหน้าเข้าสู่
สถานการณ์นี้ อาร์เอสจึงจำเป็นต้องหาพาร์ทเนอร์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการขายสินค้า โดยล่าสุดได้ประกาศจับมือกับไทยรัฐทีวี ในการนำเสนอขายสินค้าของบริษัทในอีกช่องทางหนึ่ง โดยในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ช่องไทยรัฐทีวีมีเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 0.449 อยู่ในอันดับ 6
ทั้งนี้อาร์เอสประกาศไว้ว่า กำลังมุ่งหน้าจับมือพาร์ทเนอร์เพิ่มเติมในการขายสินค้าในเครือข่ายของตัวเองอีกด้วย
แม้ว่ากลยุทธ์ใหม่ของอาร์เอส คือการหาพาร์ทเนอร์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของยอดขายสินค้า แต่ในระยะยาว การสร้างความนิยม และสร้างยอดขายจากสื่อทีวีในมือ น่าจะเป็นการการันตีช่องทางรายได้จากการขายของได้มั่นคงกว่า ต้องดูต่อไปว่า ช่อง 8 จะเดินเกมสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้ได้รับความนิยมมากขึ้นได้อย่างไร