เปิดผัง 21 ช่อง ร่วมกกต.โฆษณาพรรคการเมือง มี 5 ช่องไม่ร่วม

รายการข่าว เกาะติดจอ

จากข้อมูลที่เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งหรือ กกต. และสำนักงานกสทช.เรื่องตารางจัดสรรเวลาออกอากาศการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งทางทีวีดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 8-14 มี.ค.2562และ ตารางจัดสรรเวลาออกอากาศการดีเบตของแต่ละพรรคการเมืองที่จัดโดยกกต.ระหว่างวันที่ 13-21 มี.ค.2562 พบว่า มีจำนวนทีวีดิจิทัลทั้งหมด 21 ช่องเท่านั้นที่ให้ความร่วมมือในการออกอากาศดังกล่าว และมีจำนวน 5 ช่อง ที่ไม่เข้าร่วม ได้แก่ เวิร์คพอยท์, ช่อง 8, เนชั่นทีวี, สปริง 26 และ สปริงนิวส์

ตามมาตรา 81 ของพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสส. พ.ศ.2561 และระเบียบกกต. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งสส.พ.ศ.2561 มาตรา 69ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมือง โฆษณาหาเสียงทางโทรทัศน์ วิทยุ แต่ให้คณะกรรมการ กกต.มีหน้าที่ในการสนับสนุนการโฆษณาการหาเสียง โดย กกต. ได้ขอความร่วมมือทีวีดิจิทัล 26 ช่อง จัดสรรเวลาให้พรรคการเมือง โฆษณา ประชาสัมพันธ์พรรค พรรคละไม่เกิน 10 นาที /ครั้ง/วัน และ ขอเวลาออกอากาศ การประชันนโยบาย หรือ ดีเบต จำลองรูปแบบของเอมริกา แบบบันทึกเทป

โดยที่กกต.ระบุเวลาออกอากาศเพียงว่า ให้อยู่ในช่วงเวลา 06.00-24.00น. และให้แต่ละสถานีจัดการตารางเวลาออกอากาศได้เอง และเสนอแผนมาให้กกต.และกสทช.

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการช่องทางประชาสัมพันธ์พรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้นโยบายพรรค ต่อการตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียง ในการเลือกตั้งใหญ่ของประเทศครั้งนี้ ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านๆมา ซึ่งมีบทบังคับและโทษตามกฎหมาย หากฟรีทีวีช่องไหนไม่ปฏิบัติตาม

จากการเรียกประชุม ประสานงานในที่สุดได้ข้อสรุปว่ามีเพียง 21 ช่องทีวีดิจิทัลเท่านั้น ที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในครั้งนี้ เนื่องจากมีบางสถานีเห็นว่า ไม่ได้เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย และบทลงโทษ จึงขอปฏิเสธไม่เข้าร่วมโครงการนี้ และบางส่วนเห็นว่ามีบางสถานีไม่เข้าร่วม ก็ขอถอนตัวกะทันหันตามไป ด้วยเหตุผลว่าไม่มีบุคลากรพร้อมในการตัดต่อ ภาพเนื้อหาบางส่วนที่ไม่เหมาะสม

มีรายงานข่าวว่า เนื้อหาภาพการโปรโมทของบางพรรคการเมืองที่กกต.จัดส่งมานั้น บางส่วนของบางพรรคที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เช่นมีภาพของมึนเมา หลายช่องจึงเกรงว่าหากปล่อยให้ออกอากาศไปจะต้องเจอร้องเรียน หรือผิดกฏกสทช. จึงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการทำหนังสือชี้แจงกสทช.มาล่วงหน้าถึงปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ออกอากาศได้

จากผังการออกอากาศโฆษณาและดีเบตของกกต.ใน 21 ช่องนั้น จะเห็นว่ามีการจัดการผังออกอากาศตลอดทั้งวัน โดยส่วนใหญ่จะเลือกช่วงเวลาออกอากาศในช่วงเวลาที่มีเรตติ้งและความนิยมของผู้ชมน้อยที่สุดของแต่ละช่องให้กับพื้นที่โฆษณาของกกต. ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยที่ช่องใหญ่อย่างช่อง 7 และช่อง 3 เลือกช่วงเวลา 23-24.00 น.ของทุกวัน , ในขณะที่ช่องโมโน, ช่องวัน, จีเอ็มเอ็ม 25 ให้เวลาช่วงเช้าตั้งแต่ 06.00น.เป็นต้นไป และอีกหลายช่องที่เลือกช่วงเวลากลางวัน โดยมีช่อง MCOT Family เพียงช่องเดียวที่ให้เวลาช่วงใกล้เคียงไพรม์ไทม์ 21.00-22.00 น.ในการออกอากาศดังกล่าว

ตามแผนการเดิมนั้น หากมีช่องเข้าร่วมทั้งหมด 26 ช่องแล้ว การโฆษณาพรรคจะทำได้ทั้งหมด 15 รอบ พรรคละ 10 นาทีต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 8-14 มี.ค.2562 จาก 45 พรรคการเมือง ที่ส่งโฆษณาหาเสียงมาเตรียมให้ออกอากาศ แต่เมื่อมีช่องถอนตัวไป 5 ช่อง ทำให้การแถลงนโยบายของแต่ละพรรคเหลือเพียงพรรคละ 13 รอบเท่านั้น

หมายเหตุ
1. พรรคการเมืองทุกพรรคการเมือง ได้ออกอากาศการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง จานวน 13 ครั้ง ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เท่ากันทุกพรรคการเมือง
2. หมายเลข 1 – 53 เป็นหมายเลขลาดับการออกอากาศโฆษณาหาเสียงของพรรคการเมือง ที่จัดตามลาดับการจับสลากออกอากาศ
3. ลาดับการออกอากาศลาดับที่ 4, ลาดับที่ 7, ลาดับที่ 11, ลาดับที่ 19, ลาดับที่ 21, ลาดับที่ 33, ลาดับที่ 45 และ ลาดับที่ 47 ไม่ประสงค์รับการสนับสนุน
4. หากสถานีมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลา หรือมีเหตุจาเป็นอื่นไม่สามารถออกอากาศในวันเวลาดังกล่าวได้ ให้อยู่ดุลพินิจของทางสถานีในการออกอากาศโฆษณาหาเสียง 5. หากพรรคการเมืองใด มีเหตุจาเป็นไม่สามารถออกอากาศโฆษณาหาเสียงได้ ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ออกอากาศเท่ากับจานวนพรรคที่มีอยู่

 

ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงาน ยึดถือตามตารางจัดสรรการออกอากาศโฆษณาหาเสียงของสานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ส่วนการดีเบตนั้น มีทั้งหมด 54 พรรคการเมือง ที่กกต.แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มพรรคที่ส่งผู้สมัคร 300 -350 คน จำนวน 7 พรรค, กลุ่ม 200-299 คน จำนวน 15 พรรค และที่เหลือ กลุ่มที่ส่งผู้สมัครต่ำกว่า 200 คน มาจับสลากคู่ดีเบตกันในกลุ่ม จะเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 15-21 มี.ค.2562 ซึ่งเดิมคาดว่าจะเวียนออกอากาศได้ทั้งหมด 5 รอบ ก็ลดลงเหลือเพียง 4 รอบเท่านั้น

Tagged