ทีวี ไดเร็คเล็งเปลี่ยนชื่อช่องสปริงนิวส์ใหม่ หลังดีลจบ พร้อมจัดผังรายใหม่ และแหล่งที่มารายได้ในปี 10 ปีข้างหน้า
ทีวีไดเร็ค ได้เผยแพร่รายงานความเห็นของบริษัทออพท์เอเชีย แคปิตอล ที่ปรึกษาการเงินอิสระในการเข้าไปถือหุ้นใหญ่ 90.10% ใน สปริงนิวส์ ทีวี (SPTV) เพื่อให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจะมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของทีวี ไดเร็ค ในวันที่ 23 พ.ย.นี้
ตามแผนการบริหารใหม่นั้น ทีวี ไดเร็ค จะเริ่มเข้ามาบริหารอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ม.ค.62 ถึงสิ้นสุดใบอนุญาตวันที่ 24 เม.ย.2572 เป็นเวลา 10ปี 114 วัน โดยที่จะมีการเปลี่ยนชื่อช่องสปริงนิวส์ และบริษัทสปริงนิวส์ทีวี หลังจากที่การการทำธุรกิจเสร็จสิ้น คาดว่าหลังจาก 31ธ.ค.นี้
ผังรายการ จะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือช่วงข่าว ประมาณ 6 ชั่วโมงเป็นรายการข่าวและสาระที่ สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น หรือ SPC ( ซึ่งจะเป็นผู้ถือหุ้น 9.90% ใน SPTV ด้วย หลังดีลจบ) ผลิตและออกอากาศภายใต้แบรนด์ “สปริงนิวส์” โดยมีทั้ง ข่าวต้นชั่วโมง จำนวนรวม 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือมีทั้งหมด 12 ช่วงๆละ 5 นาที
และ ข่าวผลิตใหม่ จำนวน 5 ชั่วโมงต่อวัน กระจายเวลาในการออกอากาศทั้งวัน
ช่วงรายการสาระ และสารคดี ประมาณ 6 ชั่วโมง จาก SPC
และช่วงรายการขายสินค้าของทีวี ไดเร็ค ในรูปแบบทีวีโฮม ช็อปปิ้ง ประมาณ 12 ชั่วโมง
รายได้ 4 ทาง ขายสินค้า, ค่าเช่าเวลา , ค่าโฆษณา และค่าขนส่ง
ทั้งนี้แหล่งรายได้ของทีวี ไดเร็ค และสปริงนิวส์ หลังการเปลี่ยนแปลง จะมาจาก 4 ส่วนคือ
1.รายได้ จากการขายสินค้า และบริการ ของทีวีไดเร็คผ่านช่องสปริงนิวส์ เป็นมูลค่าเดือนละ 32.91 ถึง 61.63 ล้านบาท ถึงต้นปี 2572 ที่หมดอายุใบอนุญาต หรือโต 10% ในช่วง 3 ปีแรก (2563-2565) และหลังจากนั้นโต 5% จนปี 2572
ทั้งนี้เป็นการประมาณการรายได้ จากจำนวนสินค้าและบริการที่ขายได้ คูณกับ ราคาสินค้าและ
บริการเฉลี่ย โดยอ้างอิงจากรายได้จากการขายสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นจริงผ่านช่องสปริงนิวส์ ที่ทีวี ไดเร็คได้เคยทำสัญญาเช่าเวลาไว้กับสปริงนิวส์ ตั้งแต่เดือนพ.ค. – ก.ย. 2561 เป็นรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 30 ล้านบาท
2.รายได้จากค่าเช่าเวลา ที่ให้ผู้ผลิตสินค้าหรือเจ้าของสินค้าที่บริษัทฯนำมาจำหน่าย มาเช่าเวลาออก
อากาศเพื่อเป็นการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้า โดยคิดอัตราค่าเช่าเริ่มต้นประมาณ 46,000 บาทต่อชั่วโมง
กำหนดเวลาออกอากาศประมาณ 30 นาทีต่อวัน คิดรวมเป็นปีละประมาณ 8-10 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2562- 2572
3.รายได้จากค่าโฆษณา ในช่วงเวลา 1 วัน คาดว่าจะมีรายได้จากการโฆษณาแบ่งเป็น 2 ช่วงหลัก คือ
ช่วงเวลาข่าวรวม 6 ชั่วโมงต่อวันที่ได้ว่าจ้าง SPC เป็นผู้ผลิตรายการ ซึ่งทีวี ไดเร็คได้เวลาขายโฆษณา 42 นาทีหรือ 70% ส่วน SPC ได้ 18 นาที หรือ 30%
ส่วนอีกช่วง เป็นช่วงเวลาที่เหลือ 18 ชั่วโมงต่อวัน ที่ทีวี ไดเร็คมีสิทธิเพียงรายเดียวในการขายโฆษณา
โดยสามารถขายโฆษณาได้ไม่เกิน 10 นาทีต่อชั่วโมง ซึ่งทั้งหมดนี้ที่ปรึกษาทางการเงินประมาณการว่าจะสามารถขายโฆษณาได้ประมาณ 23 – 34 นาทีต่อวันจากเวลาที่สามารถโฆษณาได้ทั้งหมด 240 นาทีต่อวัน รวมรายได้จากการขายเวลาโฆษณาจะอยู่ที่ปีละประมาณ 8-15 ล้านบาท ตลอดอายุใบอนุญาต
4.รายได้ค่าขนส่งสินค้า ที่ลูกค้าสั่งซื้อ ให้ลูกค้า ปีละ 45-82 ล้านบาท
รวมรายได้ตั้งแต่ปี 2562 อยู่ที่ 458.34 ล้าน เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆไปถึง 812 ล้านบาทในปี 2571 ส่วนปี 2572 จะมีรายได้รวมอยู่ที่ 266.08 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากนับเวลาเพียง 4 เดือนถึงสิ้นสุดใบอนุญาต
ก่อนหน้าดีลซื้อสปริงนิวส์นี้จะเกิดขึ้น ทีวี ไดเร็ค เคยทำสัญญาเช่าเวลา ออกอากาศทางช่องสปริงนิวส์ เป็นจำนวน 18 ชั่วโมงต่อวัน โดยชำระค่าธรรมเนียม 15 ล้านบาทต่อเดือนเป็นระยะเวลา 4 ปี จนพัฒนามาเป็นรูปแบบการซื้อหุ้น 90.10% โดยเป็นการผ่อนชำระเป็นรายเดือนๆละ 7.655 ล้านบาท ให้กับ SPC รวม 124 เดือน จนถึงวันสิ้นสุดของใบอนุญาตทีวีดิจิทัลในวันที่ 24 เมษายน 2572 รวมเป็นมูลค่าทั้งหมด 949,220,000 บาท
นอกจากนี้ภายใต้ดีลนี้ ทีวีไดเร็คจะต้องชำระค่าผลิตรายการข่าวและสาระ เดือนละ 1,055,000 บาท ให้ SPC และให้สิทธิ SPC ขายเวลาโฆษณาอีก 30 % ของเวลาที่ SPC ผลิตรายการข่าวสารและสาระ รวมมูลค่าประมาณเดือนละ 540,000 บาท รวมเป็นเดือนละ 1,595,000 บาท เป็นเวลา 124 เดือน รวมมูลค่า 197,780,000 บาท
SPC ตกลงรับผิดชอบชำระหนี้คงค้างทั้งหมดของ SPTV ได้แก่ ค่าใบอนุญาต ค่าบริการโครงข่าย (MUX)
ค่าใช้จ่ายในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ให้บริการเป็นการทั่ว ไป (Must Carry) รวมทั้งหนี้สิ้นต่างๆ
ตลอดจนภาระผูกพันที่มีอยู่ก่อนวันซื้อขายหุ้นสำเร็จ
SPC ต้องคงเงินสดจำนวน 234,972,000 บาท เพื่อชำระค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลในงวดสุดท้าย
ปัจจุบัน สปริงนิวส์มีเรตติ้งอยู่ในอันดับที่ 25 อันดับสุดท้ายของทีวีดิจิทัล โดยเดือนต.ค.61 มีเรตติ้งเฉลี่ยช่องอยู่ที่ 0.012