รวมมูลค่าโฆษณาทีวีดิจิทัลปี 2564

มูลค่าโฆษณา รายได้ทีวีดิจิทัล

มูลค่าโฆษณาทีวีดิจิทัลปี 2564

2564
2563
เปลี่ยนแปลง %
กลุ่มช่อง (ล้านบาท) (ล้านบาท)
ลดลง
HD
39,133.59
40,487.24
-3.34 %
เพิ่มขึ้น
SD
21,302.76
18,283.31
16.51%
เพิ่มขึ้น
ข่าว
1,678.17
1,585.75
5.83%
ลดลง
สาธารณะ
554.41
1,306.14
-57.55%
 
 
เพิ่มขึ้น
รวม
62,668.93
61,662.46
1.63%

มูลค่าตลาดโฆษณาของทุกช่องทีวีดิจิทัลประจำปี 2564 จากการเก็บข้อมูลของนีลเส็นพบว่า มีมูลค่ารวม 62,668.93 ล้านบาท ดีขึ้นกว่าปี 2563 ที่มีมูลค่ารวม 61,662.46 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 1.63%

ตลอดปี 2564 ยังเป็นปีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19โดยเริ่มมีผลกระทบมากเริ่มจากเดือนมี.ค.เป็นเดือนแรกที่มูลค่าโฆษณาทีวีดิจิทัลรวมลดลง และในเดือนพ.ค.เป็นเดือนที่มูลค่าโฆษณารวมหดตัวมากที่สุดถึง 31.48%

โดยภาพรวม ปี 2564 มูลค่าโฆษณาในทีวีดิจิทัลไม่ได้เติบโตสูงเหมือนในอดีต จากการแข่งขันของธุรกิจให้บริการคอนเทนต์ที่มีหลากหลายช่องทาง ตามทิศทางเทคโนโลยี มูลค่าโฆษณาในทีวีดิจิทัลมีการแกว่งตัวไม่มากนัก มีเพียงเดือนเมษายนที่มีการแกว่งตัว มีมูลค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 21.67%

เมื่อแบ่งกลุ่มประมาณการรายได้โฆษณา ปี 2564 เป็นหมวดต่างๆ กลุ่มช่อง HD ประกอบไปด้วยช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง One ช่อง PPTV ช่องไทยรัฐทีวี และช่องอมรินทร์ทีวี มีรายได้โฆษณารวม 39,133.59 ล้านบาท ลดลง 1,353 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีมูลค่าโฆษณาอยู่ที่ 40,487.24ล้านบาท

โดยช่อง 7 ช่อง 9 และ ช่อง One มีมูลค่าโฆษณาลดลง 16.82% 35.27% และ 0.36% ตามลำดับ ส่วนช่อง PPTV ช่องไทยรัฐทีวี ช่องอมรินทร์ทีวี และช่อง 3 มีมูลค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น 28.03% 11.11% 14.88% และ 3.64%ตามลำดับ ซึ่งช่อง 3 ช่อง One และช่อง 7 มีมูลค่าโฆษณามีสัดส่วนถึง 39.84% 22.57% และ 20.92% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมด และสามช่องนี้มีมูลค่าโฆษณารวมกันอยู่ในสัดส่วนถึง 83.34% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมดของหมวด HD

กลุ่มช่อง SD มี 5 ช่องได้แก่ ช่อง 8 ช่องWorkpoint ช่อง GMM25 ช่อง True4U และ ช่อง Mono โดยปี 2564 มีรายได้โฆษณารวมกันอยู่ที่ 21,302.76 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 16.51%เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีมูลค่าโฆษณาอยู่ที่ 18,283.31ล้านบาท

ช่องที่มีประมาณการมูลค่าโฆษณาสูงสุดในหมวดนี้ ได้แก่ ช่อง Mono และ ช่อง Workpoint ที่มีมูลค่าโฆษณารวมกันในสัดส่วนถึง 73.33% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมดของหมวด SD

ทั้งนี้ ช่อง Mono ช่อง GMM25 ช่อง Workpoint และ ช่อง True4U มีมูลค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น 47.79% 35.23% 6.67% และ 1.88%ตามลำดับ ส่วนช่อง 8 เป็นช่องเดียวที่มีมูลค่าโฆษณาลดลง 37.91%

หมวดช่องข่าวมีทั้งหมด 3 ช่องปี 2564 มีรายได้โฆษณารวม 1,678.17ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.83% จากปีที่แล้วที่มีมูลค่า 1,585.75ล้านบาท ทุกช่องมีมูลค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น โดยช่อง JKN18 และ TNN เพิ่มขึ้น 28.49% และ 14.91% ส่วนช่องเนชั่นทีวี มีมูลค่าโฆษณาลดลง 4.97 %

สำหรับช่องสาธารณะ มีทั้งหมด 3 ช่อง ได้แก่ช่อง 5 ช่อง NBT และช่องไทยพีบีเอส แต่นับมูลค่าแค่เพียงช่อง 5 และช่อง NBT ที่มีโฆษณาได้ มูลค่าโฆษณาช่องสาธารณะมีมูลค่ารวม 554.41 ล้านบาท ลดลง 57.55% จากปี 2563 มีมูลค่าโฆษณารวม 1,306.14 ล้านบาท

ทั้งนี้ช่อง 5 และช่อง NBT มีมูลค่าโฆษณาลดลง 53.16 % และ 74.36%

โดยภาพรวมทั้งปีจะเห็นว่า น้ำหนักของโฆษณาจะเทไปในกลุ่มช่อง HD ที่มีรายได้โฆษณาสูงสุด และช่อง SD ที่มีอัตราการเติบโตสูงมากกว่ากลุ่มอื่น และทั้งสองกลุ่มมีรายได้โฆษณามีสัดส่วนถึง 62.44% และ 33.99% หรือมีรายได้โฆษณารวมสัดส่วนถึง 96.44% ของมูลค่าโฆษณาทั้งหมด

แม้ธุรกิจทีวีจะโดน Technology Disrupt แต่ช่องทางโฆษณาทางทีวียังคงเป็นแหล่งรายได้ใหญ่ที่สุด ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้กลุ่มใหญ่พร้อมๆกัน ดังจะเห็นได้จากกิจกรรมคอนเทนต์ออนไลน์ใหญ่ๆ เช่น Shopee และ Lazada ก็ยังต้องใช้ช่องทางทีวีในการเข้าถึงผู้บริโภค อย่างไรก็ตามรายได้โฆษณามีแนวโน้มกระจายไปสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาจึงได้เห็นผู้ประกอบการทีวีมีการปรับกลยุทธ์รับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางช่องก็ไปเน้นขายสินค้าผ่านทาง TV shopping

อย่างไรก็ตามการเก็บข้อมูลประมาณการรายได้โฆษณาทั้งหมดนี้ เป็นการเก็บข้อมูลจาก spot โฆษณาที่ออกอากาศในทีวีทุกช่อง ซึ่งยังไม่ได้รวมส่วนลด โปรโมชั่นต่าง ๆ ของแต่ละช่อง ซึ่งมูลค่าของรายได้จากโฆษณาจริงของแต่ละช่องจะลดลงมากกว่านี้

Tagged