ภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อปี 63 และแนวโน้มปี 64

กสทช. บทวิเคราะห์ ผลประกอบการ มูลค่าโฆษณา รายได้ทีวีดิจิทัล

รายงานของสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.

ข้อมูลโดยสรุป

*ข้อมูลปี 63 คนดูทีวีช่วงไพรม์ไทม์ (18.00-22.30 น.) มากกว่าช่วงเวลาอื่น 4 เท่าตัว

*โควิด-19 ทำให้คนสนใจรับชมคอนเทนต์ข่าวมากขึ้น แต่เดือนมี.ค.-มิ.ย.63 โควิดระลอกแรก คนนิยมรับชมคอนเทนต์ภาพยนตร์มากสุด

*ข้อมูลผู้ชมทีวีดิจิทัลปี 63 ลดลงจากปี 63 ยกเว้นกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปรับชมเพิ่มขึ้น

*ปี 63 คนใช้อินเทอร์เน็ตขยายตัว คนแก่ และผู้ใช้แรงงานเพิ่มสูงขึ้น

-กลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ต อายุ 50 ปีขึ้นไปปี 63 เพิ่มขึ้น 3%

-คนใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มจากเกือบ 4 ชั่วโมงเป็นกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน

*สื่อดิจิทัล เว็บไซต์ไลฟ์สไตล์และข่าวสาร รายได้โฆษณาสูงสุด

*กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับลดค่าใช้จ่ายโฆษณาลง : อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสื่อ และการตลาด อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคาร

* กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายโฆษณาข้ึน : อุตสาหกรรมของใช้ส่วนตัวและเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน อุตสาหกรรมการศึกษา และอุตสาหกรรมการบันเทิง


ภาพรวมสถานการณ์อุตสาหกรรมสื่อ ปี 2563 และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2564

โดย นางสาวณิชาปวีณ์ กกกำแหง และนางสาวเบญญาทิพย์ ลออโรจน์วงศ์ สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย ได้รายงานสรุปผล การศึกษาหัวข้อ “Media Wrap-up 2020 and beyond” ซึ่งเป็นการสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวม ของอุตสาหกรรมสื่อในประเทศไทยช่วงปี 2563 ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมสื่อที่เผชิญผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 รวมถึงภาพรวมค่าใช้จ่ายโฆษณาและแนวโน้มธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในปี 2564

การสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อในประเทศไทยครั้งนี้แบ่งออกเป็นสถานการณ์ภาพรวมสื่อโทรทัศน์สถานการณ์ภาพรวมสื่อวิทยุสถานการณ์ภาพรวมสื่อดิจิตอลและสถานการณ์ค่าใช้จ่ายโฆษณาโดยมีสำระสำคัญที่น่าสนใจดังนี้

สถานการณ์ภาพรวมสื่อโทรทัศน์เดือนมกราคมธันวาคม 2563

ภาพรวมของอุตำหกรรมสื่อในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า สื่อโทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อหลักที่มี การใช้งานต่อวันสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ ซึ่งเมื่อพิจารณาภาพรวมค่าความนิยมเฉล่ีย (เรตต้ิง) ของ สื่อโทรทัศน์ในปี 2563 (ภาพท่ี 1) โดยแยกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้รับชม ได้แก่ ช่วงเวลาในการ รับชม (ไพรม์ไทม์ (18.00-22.30 .) และนอกเวลาไพรม์ไทม์) พื้นที่ในการรับชม (กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจังหวัดเขตเมือง และต่างจังหวัดเขตชนบท) และช่วงอายุของผู้รับชม (4-11 ปี 12-34 ปี และ 35 ปีข้ึนไป) พบประเด็นท่ีน่าสนใจดังนี้

1. ช่วงเวลาที่ผู้ชมนิยมรับชมโทรทัศน์ยังคงเป็นช่วงเวลาไพรม์ไทม์มากกว่าช่วงเวลาอื่น โดยจะเห็นได้ว่า ในปี 2563 ท่ีผ่านมา ในทุกเขตพื้นท่ีรับชมและทุกช่วงอายุ เรตติ้งของสื่อโทรทัศน์ในช่วงเวลา ไพรม์ไทม์น้ันสูงกว่าช่วงนอกเวลาไพรม์ไทม์หลายเท่าตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ชมท่ีมีอายุ 35 ปีข้ึนไป เรตติ้งการรับชมในช่วงเวลาไพรม์ไทม์คิดเป็นประมาณ 4 เท่าของช่วงนอกเวลาไพรม์ไทม์

2. ในปี 2563 ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวโน้มรับชมโทรทัศน์มาก ขึ้น ซึ่งมีเรตต้ิงเพิ่มมากขึ้นท้ังในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ และช่วงนอกเวลาไพรม์ไทม์ ท้ังนี้ แนวโน้มการรับชม โทรทัศน์ท่ีเพิ่มขึ้นอาจเป็นผลมาจากการล็อกดาวน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทาให้ประชาชนสนใจข้อมูลข่าวสารและใช้ชีวิตที่บ้านเพิ่มมากข้ึน

3. เมื่อพิจารณาเรตต้ิงการรับชมร่วมกันกับช่วงอายุ พบว่า เรตติ้งการรับชมโทรทัศน์ในปี 2563 ในทุกกลุ่มช่วงอายุลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2564


ยกเว้นในกลุ่มผู้ชมอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มคนดูหลัก ที่มีเรตติ้งในในช่วงเวลาไพรม์ไทม์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2563

นอกจากน้ี หากพิจารณาเรตต้ิงจากประเภทของรายการต่างๆ พบว่า การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโควิด-19 และเหตุการณ์พิเศษหลายเหตุการณ์ในปี 2563 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเรตต้ิงรายการประเภทต่างๆอย่างเห็นได้ชัดดังน้ี

1. ในปี 2563 รายการประเภทภาพยนตร์เรื่องยาว (Feature Film) มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมมิถุนายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการจากัดการ เดินทางเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงอาจกล่าวได้ว่า รายการประเภท Feature Film เป็นประเภทรายการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงล็อกดาวน์ของผู้ชม นอกจากนี้ รายการประเภท บันเทิงแบบเบ็ดเตล็ด11 (Light Entertainment) ยังเป็นรายการอีกประเภทหนึ่งที่มีการเติบโตของเรตติ้งค่อน ข้างสูงในช่วงที่มีการจากัดการเดินทาง ถึงแม้ภาพรวมเรตติ้งจะไม่สูงเท่ารายการประเภท Feature Film ก็ตาม

2. รายการข่าวเป็นประเภทรายการที่มีการเติบโตของเรตติ้งสูงกว่าปี 2562 เกือบตลอดทั้งปี ซึ่งนอกจากจะเป็นผลพวงมาจากการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิด ของประชาชนตลอดทั้งปีแล้ว ยังเป็นเพราะปี 2563 มีเหตุการณ์สำคัญที่กลายมาเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนอยู่หลายเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นข่าวเหตุการณ์กราดยิงที่โคราชในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ข่าวคดีน้องชมพู่ในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้น

3. ในขณะที่เรตติ้งของรายการประเภทอื่นต่างมีแนวโน้มเติบโตขึ้น รายการกีฬาในปี 2563 กลับมีเรตติ้งเฉลี่ยที่น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทาให้ไม่สามารถจัดการ แข่งขันกีฬาได้ ทาให้มีรายการประเภทกีฬาน้อยลง ซึ่งเมื่อพิจารณาเรตติ้งเฉลี่ยของรายการประเภทนี้ในปี 2563 เทียบกันกับปีก่อน จะเห็นได้ชัดว่าช่วงที่เรตติ้งของรายการกีฬาถดถอยมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 คือ ช่วงที่มีการจากัดการเดินทางซึ่งตรงกับช่วงไตรมาส 2 ก่อนจะค่อยๆดีขึ้นหลังจากที่เริ่มมีการผ่อนคลายการจากัดการเดินทางและทาให้สามารถกลับมาจัดการแข่งขันกีฬาต่างๆได้มากขึ้น

สรุปได้ว่า ในปี 2563 พฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม คนดูหลักท่ีมีอายุ 35 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ รายการประเภทละครก็เป็นประเภทรายการที่ได้รับความนิยมมาก ที่สุด แต่มีแนวโน้มทรงตัวในปี 2563 อย่างไรก็ดี รายการประเภทข่าวสารและสาระ รายการประเภท ภาพยนตร์เรื่องยาว และรายการบันเทิงแบบเบ็ดเตล็ด ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาล็อก ดาวน์ ทั้งนี้ จากผลพวงของสถานการณ์โควิด-19 รายการกีฬาเป็นประเภทรายการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดแต่เมื่อรัฐมีการผ่อนปรนให้กลับมาจัดการแข่งขันกีฬาได้รายการกีฬาก็กลับมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ภาพรวมสื่อวิทยุเดือนมกราคมธันวาคม 2563

สำหรับสื่อวิทยุ บริษัท นีลเส็นฯ ได้ใช้ค่าเฉลี่ยจานวนผู้ฟังต่อสถานีต่อเดือนมาเป็นเกณฑ์ใน การวัดค่าความนิยมในการรับฟัง โดยจากข้อมูลจะเห็นได้ว่า ในปี 2563 นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมาจน ส้ินสุดปี 2563 ความนิยมในการรับฟังวิทยุในทุกช่วงอายุท่ีทาการเก็บข้อมูล (12-34 ปี และ 35 ปีขึ้นไป) มีการเติบโตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2 ที่มีการเติบโตของจำนวน

ผู้ฟังอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากการล็อกดาวน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ทาให้ประชาชนสนใจข้อมูล ข่าวสารและหันมาใช้งานสื่อวิทยุเพิ่มมากขึ้น

————————————————————

11 เช่น รายการเกมโชว์ และแข่งขันตอบปัญหา (Game and Quiz Show) รายการวาไรตี้ (Variety) รายการสนทนา (Talk)

 


นอกจากน้ียังพบว่าพฤติกรรมการรับฟังวิทยุของผู้ฟังนั้นมีการรับฟังผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือมีการใช้ทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันมากขึ้นโดยไม่จาเป็นต้องรับฟังผ่านเครื่องรับวิทยุแบบดั้งเดิมอีกต่อไปนอกจากนี้ผู้ฟังวิทยุยังมีการฟังวิทยุผ่านสถานีที่หลากหลายมากขึ้นอีกด้วยแต่อย่างไรก็ดีประเภทสถานีท่ีได้รับความนิยมยังคงเป็นสถานีเพลงไทยลูกทุ่งมากที่สุดตามมาด้วยสถานีเพลงไทยสากลส่วนสถานีประเภทข่าวและกีฬาและสถานีเพลงสากลท่ีถึงแม้จะมีผู้ฟังเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับสถานีเพลงไทยลูกทุ่งและไทยสากล

สถานการณ์ภาพรวมสื่อดิจิตอลเดือนมกราคมธันวาคม 2563

จากรายงานวิเคราะห์การรับชม12 สื่อดิจิตอลของประเทศไทยในภาพรวม ช่วงปี 2563 เปรียบเทียบกับปี 2562 (ภาพท่ี 4) จะเห็นได้ว่า ยอดการรับชม (แบบนับซ้า) หรือ Video View เพิ่มข้ึนอย่างมี นัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ที่ยอดการรับชมเพิ่มข้ึนอย่างเห็นได้ชัดถึงร้อยละ 75 และ 70 ตามลาดับ ส่วนในไตรมาสท่ี 3 และ 4 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 48 และ 10 ตามลาดับ

เมื่อพิจารณาลงลึกตามลักษณะประชากรศาสตร์พบว่า กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลักยังคงเป็น กลุ่มผู้ใช้ที่มีอายุ 21-34 ปี แต่อย่างไรก็ตามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่ม มากขึ้นในกลุ่มผู้ใช้ อื่นๆด้วย ท้ังกลุ่มผู้ใช้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2563 เพิ่มขึ้นคิด เป็นร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้ารวมถึงกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตชนบท

หรือกลุ่มผู้ที่มีอาชีพใช้แรงงาน (Blue-collar worker) ก็มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันซึ่งแสดงให้เห็นว่าฐานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเริ่มขยายตวัไปสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศเพิ่มมากขึ้น

——————-

12 เป็นการวัดการรับชมเนื้อหารายการบนแพลตฟอร์มดิจิตอล ซึ่งไม่รวมแพลตฟอร์ม YouTube และ Facebook


นอกจากน้ี จากข้อมูลผลการสำรวจการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบ่งตามประเภทอุปกรณ์พบว่า ระยะเวลาหรือจานวนชั่วโมงในการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลแต่ละประเภทในปี 2563 เพิ่มข้ึนเป็นเท่าตัวเมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2562 (ภาพท่ี 5) กล่าวคือ ระยะเวลาในการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนเพิ่มข้ึนจาก 3 ชั่วโมง 51 นาที เป็น 6 ชั่วโมง 8 นาที ส่วนระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือ โน้ตบุ๊ก (Notebook) เพิ่มขึ้นจาก 2 ชั่วโมง 8 นาที เป็น 4 ชั่วโมง 17 นาที และระยะเวลาที่ใช้แท็บเล็ต (Tablet) เพิ่มขึ้นจาก 1 ชั่วโมง 16 นาที เป็น 2 ชั่วโมง 51 นาที โดยระยะเวลาท่ีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนี้มาจากการท่ีผู้บริโภคใช้ อินเทอร์เน็ตทากิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่น Social Media การใช้เว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป การซื้อของออนไลน์ การส่งข้อความหรือเล่นแชท การรับชมข่าวออนไลน์หรือรายการโทรทัศน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิตอล ทั้งที่เป็นรายการถ่ายทอดสด (Live Streaming) หรือเป็นการรับชมย้อนหลัง (VOD) และการเล่นเกมออนไลน์เป็นต้น

สถานการณ์ค่าใช้จ่ายโฆษณาเดือนมกราคมธันวาคม 2563

ถึงแม้ว่าในภาพรวมของสถานการณ์สื่อต่างๆ ในปี 2563 จะมีจานวนผู้บริโภคหรือระยะเวลาท่ีใช้ในการบริโภคสื่อเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนหน้าแต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาด้านค่าใช้จ่ายโฆษณาของอุตสาหกรรมสื่อในภาพรวมกลับพบว่ามีค่าลดลงในทิศทางท่ีสวนทางกัน

สาเหตุหลักอาจเนื่องมาจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยปี 2563 ค่าใช้จ่ายโฆษณาของอุตสาหกรรมสื่อมีมูลค่า ประมาณ 106,255 ล้านบาท ซึ่งปรับตัวลดลงจากปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 14 (ภาพท่ี 6) ทาให้ค่าใช้จ่าย โฆษณาของปี 2563 นั้นมีมูลค่าใกล้เคียงกับเมื่อปี 2554 หรือเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา

ทั้งน้ี หากพิจารณาค่าใช้จ่ายโฆษณาของอุตสาหกรรมสื่อแบ่งตามประเภท จะเห็นได้ว่า สื่อหลักที่มีค่าใช้จ่ายโฆษณามากที่สุดยังคงเป็นสื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อภายนอกอาคาร สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุ ตามลาดับ โดยสื่อที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563 มากท่ีสุดคือ สื่อภายนอกอาคาร เนื่องจากมาตรการต่างๆของหน่วยงานต่างๆ ที่มีขึ้นเพื่อลดการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัส เช่น การทางานท่ีบ้าน (Work from home) ทาให้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตภายในบ้านมากข้ึน และมี การเดินทางน้อยลง (ภาพท่ี 7)

เมื่อพิจารณาการลงโฆษณาท่ีแบ่งตามประเภทเนื้อหารายการในสื่อประเภทต่างๆ (ภาพที่ 8) พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

สื่อโทรทัศน์พบว่าประเภทรายการที่มีผู้ลงโฆษณามากที่สุดยังคงเป็นรายการละครและซีรีส์ ซึ่งสอดคล้องกับเรตติ้งที่ประเภทรายการละครได้รับความนิยมสูงสุด ตามมาด้วยรายการประเภทบันเทิงแบบ เบ็ดเตล็ด (Light Entertainment) และรายการประเภทข่าวสารและสาระ ส่วนรายการประเภทภาพยนตร์ เรื่องยาว (Feature Film) ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา และเมื่อพิจารณาเจาะลึกระดับรายการโฆษณา (Campaign) ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ (ภาพที่ 9) จะเห็นได้ว่า รายการโฆษณาที่มีการเข้าถึงของผู้รับชมมากท่ีสุด 3 อันดับแรกในปี 2563 ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้รับชมได้โดย เฉลี่ยถึง 60 ล้านคน ล้วนเป็นโฆษณาที่ทาการโฆษณาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 5-8 เดือน ทาให้ยอดการรับชม (ยอด วิว) สูงถึง 3,482-8,700 ล้านวิว รวมถึงความถี่ของแต่ละรายการโฆษณาที่ผู้บริโภคได้รับชมมีจำนวนสูงถึง 10-21 คร้ังต่อเดือนต่อคน

สื่อดิจิตอลหรือสื่ออินเทอร์เน็ต13 พบว่า ประเภทของเว็บไซต์ที่ได้รับรายได้ค่าโฆษณาสูงสุด 2 อันดับแรกคือ เว็บไซต์เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต (Lifestyle) และเว็บไซต์ข่าวสาร ตามลาดับ อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ประเภทบันเทิง (Entertainment) และเว็บไซต์ประเภทอื่นๆก็ยังได้รับรายได้ค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

สื่อวิทยุ พบว่า ประเภทสถานีท่ีได้รับรายได้ค่าโฆษณาสูงสุด คือ สถานีเพลงไทยสากล (Thai Music) รองลงมาคือสถานีประเภทข่าวสารและกีฬา เพลงลูกทุ่ง และเพลงสากล (International Music) ตามลำดับ


13 บริษัทฯ ได้รวบรวมเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ใหญ่ของไทยจำนวนมากกว่า 200 เว็บไซต์

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาเนื้อหาของสื่อโฆษณาภายในประเทศไทยที่องค์กรหรือแบรนด์ส่วน ใหญ่ใช้สื่อสารต่อผู้บริโภคพบว่า เป็นโฆษณาหรือสื่อสร้างสรรค์ (Creative) (ภาพท่ี 10) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ เก่ียวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ท้ังในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์โควิด-19 การส่งเสริม และให้กำลังใจแก่ผู้ทำงานแนวหน้า (Frontline Worker) เช่น แพทย์ พยาบาล รวมถึงโครงการ CSR ที่เกิดขึ้น เพื่อสนับสนุนการบริจาคให้การผลิตวัคซีน หรือบริจาคให้กับผู้ทำงานแนวหน้า อีกทั้ง เป็นที่น่าสนใจว่าจำนวนสื่ออสร้างสรรค์นี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ติดเชื้อ ซึ่งเห็นได้ชัดในช่วงเดือนมีนาคมพฤษภาคม 2563 ที่มีจานวนผู้ติดเชื้อค่อนข้างสูง ทำให้มีจำนวนสื่อสร้างสรรค์มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เพื่อให้ผู้บริโภคเกิด ความตระหนักถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นนั่นเอง

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายโฆษณาของแต่ละประเภทอุตสาหกรรม เปรียบเทียบกับปี 2562 (ภาพท่ี 11) พบว่า สามารถแบ่งอุตสาหกรรมออกได้เป็น 2 กลุ่มโดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปรับลดค่าใช้จ่ายโฆษณาลงได้แก่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอุตสาหกรรมสื่อและการตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคารเป็นต้นโดยจะสังเกตุได้ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีค่าใช้จ่ายทางด้านโฆษณาลดลงนั้นล้วนเป็นอุตสาหกรรมท่ีปกติมีจำนวนเม็ดเงินค่าใช้จ่ายโฆษณาในอันดับแรกๆสำหรับกลุ่มท่ีสองคือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายโฆษณาข้ึนได้แก่อุตสาหกรรมของใช้ส่วนตัวและเครื่องสำอางอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนอุตสาหกรรมการศึกษาและอุตสาหกรรมการบันเทิงเป็นต้น

เมื่อพิจารณาเจาะลึกลงไปยังหมวดย่อยของอุตสาหกรรม (ภาพที่ 12) พบว่า มีอุตสาหกรรม หรือธุรกิจย่อยหลายหมวดที่มีค่าใช้จ่ายโฆษณาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรม เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน (Community Development) ธุรกิจการประกันภัยสุขภาพ (Health Insurance) อุตสาหกรรมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Sports)14 ธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือโฆษณาผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ของใช้ในบ้านและของใช้ส่วนตัว (Home and Personal Care) และอุตสาหกรรมวิตามินและอาหารเสริม (Vitamin and Supplement) โดยมีค่าใช้จ่าย โฆษณาที่เพิ่มข้ึนคิดเป็นร้อยละ 690 ร้อยละ 395 ร้อยละ 105 ร้อยละ 92 ร้อยละ 65 และร้อยละ 45 ตามลำดับ


14ค่าใช้จ่ายโฆษณาของE-sportท่ีเพิ่มขึ้นนั้นมีความสอดคล้องกับการท่ีคนไทยเล่นเกมออนไลนม์ากขึ้น       

15สื่อสร้างสรรค์นี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับจำนวนผู้ติดเชื้อ ซึ่งเห็นได้ชัดในช่วงเดือนมีนาคมพฤษภาคม 2563 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อค่อนข้างสูง ทำให้มีจำนวนสื่อสร้างสรรค์มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เพื่อให้ผู้บริโภคเกิด ความตระหนักถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นนั่นเอง

จากแนวโน้มค่าใช้จ่ายโฆษณาของอุตสาหกรรมข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องไปใน ทิศทางเดียวกับแนวโน้มของการบริโภคทั่วโลก ซึ่งก็คือ แนวโน้มด้านการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิตอล (Digital Transformation) แนวโน้มด้านการมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงและสมบูรณ์ (Health and Wellness) และแนวโน้ม ด้านความยั่งยืนทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตและธรรมชาติ (Sustainability)

รายละเอียดเพิ่มเติม https://broadcast.nbtc.go.th/data/bcj/2564/doc/2564_02_2.pdf

Tagged