เรตติ้งทีวีดิจิทัลช่วงไวรัสโควิด-19 By ผักสลัด

บทความพิเศษ

บทความพิเศษ

ไวรัสโควิด-19 ระบาดในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี 2562 แต่ในประเทศไทยเริ่มต้นติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2563 ณ เวลานั้น ประชาชนเริ่มมีความหวาดกลัวต่อ ไวรัสโควิด-19 มีการรณรงค์ให้สวมหน้ากากทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน รณรงค์มาตราการการเว้นระยะห่าง หรือแม้แต่การให้ทำงานที่บ้าน เดือนมีนาคม มีหลายบริษัทเริ่มต้นให้พนักงานทำงานที่บ้าน

ผู้ว่า กทม. มีมติ วันที่17 มีนาคมสั่งปิดสถานประกอบการ 6 ประเภท สนามมวยสถานบริการกิจการอาบ อบ นวด สถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพรกิจการ โรงมหรสพ และ สถานที่ออกกำลังกายที่เป็นพื้นที่ปิด และ ผู้ว่า กทม. มีมติปิด เพิ่ม วันที่ 23 มีนาคมห้างสรรพสินค้า ยกเว้นส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาดทุกประเภท ยกเว้นแผงของสด สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สถานที่จัดประชุมและนิทรรศการ เป็นต้นนอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังขอความร่วมมือหน่วยงานเอกชนให้อนุญาตพนักงานทำงานที่บ้านส่วนหน่วยงานของรัฐให้ใช้วิธีเหลื่อมเวลาหรือสลับวันการทำงานตามความเหมาะสมส่วนระบบขนส่งมวลชนขอให้จัดเว้นระยะที่นั่งเพื่อลดความแออัดของผู้โดยสารและขอความร่วมมือประชาชนลดการเดินทางไปในที่มีคนหนาแน่น

จังหวัดอื่น เริ่มมีมาตราการเช่นเดียวกับ กทม. นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่าง เวลา 22.00 – 04.00 น.เริ่มต้น 3 เมษายน 2563

มาตราการปิดสถานประกอบการ และ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นผลทำให้ประชาชนต้องเก็บตัวอยู่กับบ้านมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเรตติ้งที่เพิ่มขึ้น เดือนมีนาคม เปรียบเทียบ กุมภาพันธ์ ของอันดับ 1 ช่อง 7 เพิ่มขึ้น 9.51 % ช่อง 3 เพิ่มขึ้น 9.65 % ส่วน โมโนเพิ่มขึ้น 5.95% เดือนเมษายนเปรียบเทียบ มีนาคมช่อง 7 เพิ่มขึ้น 13.44 %ช่อง 3 กลับลดลง 3.47 %ส่วน โมโนเพิ่มขึ้น 8.94 % ที่น่าแปลกใจคือเรตติ้งช่อง 7 และ โมโนเพิ่มขึ้น แต่ช่อง 3 กลับสวนทางลดลง เดือนเมษายนเป็นช่วงที่รณรงค์ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ ลดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่เก็บตัวอยู่กับบ้าน แต่เรตติ้งช่อง 3 กลับติดลบ เมื่อเจาะลึกในแต่ละช่วงเวลาละครไพรม์ไทม์ช่อง 3 “ดั่งดวงหฤทัย” และ “เล่ห์บรรพกาล’’ มีเรตติ้งไม่ดีนัก แต่มีละครใหม่ “อกเกือบหัก แอบรักคุณสามี”ที่มาแรง

เมื่อเจาะลึกในแต่ละช่วงเวลาละครช่อง 7 มีเรตติ้งดีขึ้นโดยเฉพาะละครรีรันทั้งเช้า บ่าย รวมไปถึงละครเย็น และไพรม์ไทม์ ที่แม้จะจัดละครรีรันลงไปมีเรตติ้งก็ยังนำทุกช่อง ในขณะที่เวิร์คพอยท์เรตติ้งช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก อาจเป็นเพราะ เป็นช่องที่เน้นรายการวาไรตี้ เกมโชว์ซึ่งมีผู้ชมเฉพาะกลุ่ม

ทางด้านช่องไทยรัฐ เดือนเมษายนมีเรตติ้งเพิ่มขึ้น 10.63% เพิ่มขึ้นสูงสุด รองจากช่อง 7 เมื่อเปรียบเทียบทั้ง 5 อันดับแรก แต่ยังอยู่ในอันดับ 6 ตามหลังช่อง One ที่ครองอันดับ 5 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม อาจเป็นเพราะว่าช่องไทยรัฐ เน้นทางด้านข่าว ประชาชนจึงติดตามข่าวมากขึ้น ในเดือน ปลายเดือนมีนาคม เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนเริ่มตื่นตระหนกต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 และแนวโน้มการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำสถิติสูงสุด 188 ราย ในวันที่ 22 มีนาคม2563 นอกจากนี้ แนวโน้มการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงตัวในระดับสูงจนถึงกลางเดือนเมษายน (https://www.worldometers.info/coronavirus/country/thailand/) เดือนเมษายน มีมาตราการปิดสถานประกอบการ และ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นผลทำให้ประชาชนต้องเก็บตัวอยู่กับบ้านมากขึ้น ส่วน พฤษภาคม ช่องไทยรัฐ มีเรตติ้ง คงที่ และ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับ ช่อง 7 และ โมโน ที่เน้นทางด้านบันเทิง

มาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 ซึ่งเริ่มขึ้น 17 พ.ค. 2563 โดยอนุญาติเปิด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ร้านค้าปลีก ค้าส่งขนาดใหญ่ ตลาดสดกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย หรือดูการแลสุขภาพ เป็นต้น มาตรการผ่อนปรนนี้ มีผลให้ประชาชนออกนอกบ้านมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ เรตติ้งลดลง เดือนพฤภาคม ช่อง 7 มีเรตติ้งลดลง 10.99% ช่อง 3 ลดลง 1.04 %โมโนลดลงมากสุด 15.08% ถึงแม้ช่อง 7 เรตติ้งลดลงมากกว่า ช่อง 3 แต่เรตติ้งโดยรวมยังนำช่องอี่นหลายช่วงตัวช่อง 7 เรตติ้งโดยรวมมากกว่า ช่อง 3และ โมโน59.74 % 122 % ตามลำดับ

หากดูเม็ดเงินโฆษณา จากข้อมูลของ นีลเส็น ในไตรมาสแรก ของปี 2563 นีลเส็นรายงานเม็ดเงินโฆษณาโดยแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมโดยกลุ่มที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นได้แก่กลุ่มยา เพิ่มขึ้น 45%, และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้น 34% ขณะที่กลุ่มท่องเที่ยว ลดลง 27% จาก ตัวเลขที่แสดงข้างต้น บริษัทตระหนักถึงสุขภาพประชาชน และ ความต้องการซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะต้องทำงานที่บ้าน จึงมีการทุ่มงบโฆษณาในกลุ่มยา กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มากขึ้น ส่วนทางด้านการท่องเที่ยวประชาชนเริ่มมีความหวาดกลัวต่อ ไวรัสโควิด-19 บริษัทจึงตัดงบโฆษณาส่วนนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ รณรงค์ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ ลดการระบาดของไวรัสโควิด-19

ข้อสังเกตุ ช่วงที่รณรงค์ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ ลดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประชาชนส่วนใหญ่เก็บตัวอยู่กับบ้าน เรตติ้งของทุกช่องเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่มากนัก ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ออกไปข้างนอก เรตติ้งทีวีดิจิทัลน่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ แสดงว่าผู้บริโภคมีช่องทางของสันทนาการด้านอื่นฯนอกจากการดู ทีวี ซึ่งOTT (over -the-top)อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง OTT คือการบริการหนึ่งที่เราสามารถรับชมภาพยนตร์, เนื้อหาต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเช่น Facebook, YouTube,  Netflix, Line TV และผู้ให้บริการสตรีมมิ่งอื่น ๆ การเติบโตของ OTT น่าจะมีผลต่อการทีวีดิจิทัลในประเทศไทย นอกจากนี้นีลเส็น รายงานช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดันยอดคนฟังวิทยุเพิ่มขึ้น 21 % และ 17 % ในเดือน มีนาคม และ เมษายนซึ่งมากกว่าการเพิ่มขึ้นของเรตติ้งในทีวีดิจิทัล กว่า 1 เท่าตัว

Tagged